หัวข้อ   “ นศ. ปี 4 กับเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ”
 
                 นักศึกษาปี 4 69.4% เชื่อนโยบายเงินเดือน 15,000 กระทบต่อการหางาน
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของ
นิสิต  นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เรียนอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑลจำนวน 1,185 คน  พบว่าส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบแล้วอยากทำงานในหน่วยงาน
เอกชน (ร้อยละ 39.6)  รองลงมา คือ ประกอบธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 25.7) หน่วยงานราชการ
(ร้อยละ 18.2)  และรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 16.5) ตามลำดับ
 
                 ทั้งนี้นิสิตนักศึกษาร้อยละ 41.9 ไม่แน่ใจในนโยบายของรัฐบาล นายกฯ
ยิ่งลักษณ์ ที่ให้ผู้ทำงานวุฒิปริญญาตรีมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท ว่าจะสามารถ
ทำได้จริงหรือไม่   ในขณะที่ ร้อยละ 29.5 เชื่อว่าทำได้  และ ร้อยละ 28.6 เชื่อว่าทำไม่ได้
 
                 อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลจะดำเนินนโยบายดังกล่าว
ไม่ว่าจะเป็น การให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป (เห็นด้วยร้อยละ
61.7)  การใช้คุณภาพของบัณฑิตเป็นตัวชี้วัดว่าใครควรจะได้ค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท
(เห็นด้วยร้อยละ 57.1) และ สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปแต่รายได้ยังต่ำกว่า 15,000 บาท
ใช้วิธีเพิ่มค่าครองชีพ  เพื่อให้ได้รับเงินเดือนรวมแล้วเป็น 15,000 บาท ต่อเดือน (เห็นด้วยร้อยละ 56.9)
 
                 นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าหากนโยบายข้างต้นมีผลบังคับใช้จริงจะส่งผลกระทบต่อการหางานเมื่อจบ
การศึกษาถึง ร้อยละ 69.4 (ได้แก่ อาจทำให้หางานยากขึ้น และเกณฑ์ในการรับสมัครน่าจะเข้มขึ้น ฯลฯ)  ขณะที่ร้อยละ 30.6
ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบ (โดยให้เหตุผลว่า เรียนในสาขาที่มีงานรองรับอยู่แล้ว มีสถานประกอบการเยอะ และตั้งใจจะเรียนต่อ
ปริญญาโท ฯลฯ)
 
                 สำหรับความกังวลต่อนโยบายดังกล่าวคือกังวลว่าบริษัทเอกชนจะเปิดรับผู้ที่จบปริญญาตรีเข้าทำงานลดลง
ร้อยละ 30.0  รองลงมาคือกลัวจะถูกเลิกจ้างเมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งเพราะหน่วยงานแบกรับภาระเรื่องค่าจ้างไม่ไหว
ร้อยละ 18.5 และกลัวจะไม่มีงานทำและว่างงานร้อยละ 17.9
 
                 ส่วนปัญหาที่ต้องการให้ตำรวจเน้นแก้ไขมากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 49.5)
รองลงมาเป็น ปัญหาในแวดวงตำรวจเอง เช่น  การคอร์รัปชั่น รับส่วย สินบน (ร้อยละ 17.0)  ปัญหาความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินของประชาชน (ร้อยละ 11.0)  และปัญหาการจราจร (ร้อยละ 9.8)
 
                 ส่วนเรื่องที่อยากฝากบอกรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุดคือ ให้เร่งทำทุกนโยบายให้เป็นจริง
ตามที่ได้หาเสียงไว้ร้อยละ 33.0  รองลงมาคือ ให้ประเทศพัฒนายิ่งขึ้น  และนึกถึงประโยชน์ของประชาชนมาก่อนร้อยละ
12.0 และให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ร้อยละ 10.4
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. หน่วยงานที่นิสิตนักศึกษาอยากจะทำงานเมื่อเรียนจบแล้ว คือ

 
ร้อยละ
เอกชน
39.6
ประกอบธุรกิจส่วนตัว
25.7
ราชการ
18.2
รัฐวิสาหกิจ
16.5
 
 
             2. ความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายของรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ให้ผู้ทำงานวุฒิปริญญาตรีมีรายได้
                 ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท คือ

 
ร้อยละ
เชื่อว่าทำได้
29.5
เชื่อว่าทำไม่ได้
28.6
ไม่แน่ใจ
41.9
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อแนวทางของรัฐบาลที่จะดำเนินนโยบายจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ที่จบปริญญาตรี
                 เดือนละ 15,000 บาท มีดังนี้

แนวทาง
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
(ร้อยละ)
ให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555
เป็นต้นไป
61.7
9.8
28.5
ใช้คุณภาพของบัณฑิตเป็นตัวชี้วัดว่าใครควรจะ
ได้เงินค่าจ้าง 15,000 บาท
57.1
16.3
26.6
สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปแต่รายได้ยัง
ต่ำกว่า 15,000 บาท ใช้วิธีเพิ่มค่าครองชีพ
เพื่อให้ได้รับค่าจ้างรวมแล้วเป็น 15,000 บาท
ต่อเดือน
56.9
13.7
29.4
 
 
             4. ผลกระทบต่อการหางานเมื่อจบการศึกษาหากนโยบายข้างต้นมีผลบังคับใช้จริง คือ

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะส่งผลกระทบ
( ได้แก่ หางานยากขึ้น มีการแข่งขันแย่งงานกันมากขึ้น และเกณฑ์
  ในการรับสมัครอาจจะเข้มขึ้น ฯลฯ )
69.4
เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ
( โดยระบุว่า เรียนในสาขาที่มีงานรองรับอยู่แล้ว มีสถานประกอบการ
  เยอะมีธุรกิจส่วนตัว และตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาโท ฯลฯ )
30.6
 
 
             5. เรื่องที่นิสิตนักศึกษากังวลมากที่สุดหากรัฐบาลจะดำเนินนโยบายดังกล่าว คือ 

 
ร้อยละ
กังวลว่าบริษัทเอกชนจะเปิดรับผู้ที่จบปริญญาตรีเข้าทำงานลดลง
30.0
กลัวจะถูกเลิกจ้างเมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งเพราะหน่วยงานแบกรับภาระ
เรื่องค่าจ้างไม่ไหว
18.5
กลัวจะไม่มีงานทำ / ว่างงาน
17.9
เกิดการแข่งขันเพื่อเข้าทำงานราชการมากขึ้น
13.9
กังวลว่าต้องสมัครงานในวุฒิที่ต่ำกว่าปริญญาตรี
3.6
อื่นๆ อาทิ กลัวเรื่องเงินเฟ้อ ของแพงขึ้น เป็นหนี้ เป็นต้น
3.2
ไม่กังวล
12.9
 
 
             6. เรื่องที่อยากฝากบอกรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ให้เร่งทำทุกนโยบายให้เป็นจริงตามที่ได้หาเสียงไว้
33.0
ให้ประเทศพัฒนายิ่งขึ้น และนึกถึงประโยชน์ของประชาชนมาก่อน
12.0
ให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่
10.4
ให้ทำงานอย่างสุจริต ไม่โกงกิน
7.9
ให้ทำนโยบายค่าตอบแทนปริญญาตรีเดือนละ 15,000 ให้สำเร็จ
7.5
 

 
รายละเอียดในการสำรวจ
 
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้าย เกี่ยวกับนโยบาย
ของรัฐบาลในเรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนผู้ทำงานในวุฒิปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท ในประเด็นต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมอง
ของนิสิตนักศึกษาให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ  และนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับ
ประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายจากสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งของรัฐและเอกชน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)
จำนวนทั้งสิ้น 25 สถาบัน ด้วยการสุ่มสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวน 14 แห่ง และเอกชนจำนวน 11 แห่ง  จากนั้นจึงสุ่ม
ประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,185 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.4 และเพศหญิง
ร้อยละ 48.6
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  25 - 30  สิงหาคม   2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 6 กันยายน 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
609
51.4
             หญิง
576
48.6
รวม
1,185
100.0
ประเภทของสถานศึกษา:
 
 
             รัฐบาล
680
57.4
             เอกชน
505
42.6
รวม
1,185
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776